หลักการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์
การส่งโทรทัศน์ขาว-ดำ จะดำเนินการส่งสัญญาณด้านภาพ และสัญญาณด้านเสียงออกอากาศขั้นตอนที่สำคัญ คือ
ด้านสัญญาณภาพจะนำสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพมารวมกับคลื่นพาหะ หรือแคร์เรีย เรียกว่า วิดีโอ แคร์เรีย (Vidio Carrier) คลื่นนี้สามารถออกอากาศได้
ด้านสัญญาณเสียงจะนำสัญญาณไฟฟ้ามารวมกับคลื่นพาหะ หรือ แคร์เรย เรียกว่า ซาวด์ แคร์เรีย (Sound Carrier) คลื่นนี้สามารถออกอากาศได้
หลักการเครื่องส่งโทรทัศน์เบื้องต้น
ด้านสัญญาณภาพ
กล้องถ่ายภาพ เรียกว่า แคมเม่อร่า ทิ้ว (Camera Tube) จะดำเนินการถ่ายภาพต่างๆ เช่น คน , วิว หรือวัตถุต่างๆ กล้องถ่ายจะเปลี่ยนจากภาพต่างๆ มาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพ เรียกว่า วิดีโอ ซิกแนล (Vidio Signal) แล้วจะนำเอา วิดีโอ ซิกแนล ไปขยายให้มีกำลังสูงขึ้นในภาควิดีโอ แอมป์ (Vidio Amp)
เครื่องรับโทรทัศน์
สัญญาณภาพเรียกว่า วิดีโอแคร์รีย (Vidio Carrier) และสัญญาณเสียงเรียกว่า ซาวด์แคร์เรีย (Sound Carrier) ของแต่ละสถานีส่งโทรทัศน์จะเข้าภาคจูนเนอร์ (Tuner) ภาคจูนเนอร์จะเลือกรับสถานีที่ต้องการ
สัญญาณด้านเสียง
สัญญาณด้านเสียงจะเข้าภาค ซาวด์ดีเทคเตอร์ (Sound Detector) การดีเทคเตอร์จะเป็นแบบ เอฟ เอ็ม ดีเทคเตอร์ (FM Detector) วิธีการดีเทคเตอร์คือการตัดหรือบายพาส (By Pass) แคร์เรีย ลงกราวด์ ดังนั้นสัญญาณด้านเสียงขณะนี้จะเหลือ ซาวด์ซิกแนล (Sound Signal) หรือสัญญาณทางไฟฟ้าของสียง ออดิโอแอมป์ (Audio Amp) จะเป็นภาคขยายเสียง โดยการนำเอา ซาวด์ซิกแนล มาทำการขยายกำลังฬห้สูงขึ้น เพียงพอต่อความต้องการ แล้วส่งซาวด์ซิกแนล ที่ถูกขยายแล้วต่อไปยังลำโพง
สัญญาณด้านภาพ
สัญญาณด้านภาพจะเข้าสู่ วิดีโอดีเทคเตอร์ (Vidio Deyector) การดีเทคเตอร์จะเป็นแบบ เอ เอ็ม ดีเทคเตอร์ (AM Detector) วิธีการดีเทคเตอร์คือการตัดหรือบายพาส (By Pass) แคร์เรียลงกราวด์ ดังนั้นสัญญาณด้านภาพขณะนี้จะเหลือ วิดีโอซิกแนล (Vidio Signal) หรือสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพ
ความรู้เกี่ยวกับโทรทัศน์สี
การที่คนเราสามารถมองเห็นสีสันต่างๆ ย่อมจะมีความเป็นธรรมชาติ หลังจากที่การคิดค้นเครื่องส่งโทรทัศน์ขาว-ดำ เป็นผลสำเร็จ ก็มีการค้นคว้าพัฒนาเพื่อให้สามารถส่งโทรทัศน์สี โทรทัศน์สีมีองค์ประกอบ มีขั้นตอนต่างๆ ที่สลับซับซ้อนมากมาย แต่มนุษย์เราก็ประสบความสำเร็จในที่สุดสามารถสร้างเคริ่องส่งโทรทัศน์สี ประเทศไทยเริ่มมีกิจการโทรทัศน์สีตั้งแต่ปี 2510 และในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ถูกพัฒนาจนถึงยุคไมโครคอมพิวเตอร์
ย่านความถี่แสงและความยาวคลื่น
สีสันต่างๆ ที่เกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดจากธรรมชาติ จะมีทั้งสีมองเห็นและสีที่มองไม่เห็น คลื่นแสงที่สามารถมองเห็นจะอยู่ระหว่างรังสีอินฟาเรด (Infraed) กับรังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet) ส่วนที่นอกเหนือจากนี้จะมองไม่เห็นสี สีสันทั้งหลายต่างมีพลังแม่เหล็กไฟฟ้า คือ มีความยาวคลื่นและความถี่ของแต่ละสีจะไม่เท่ากัน
-สีม่วง (Violet) มีความยาวคลื่นประมาณ 400-450 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
-สีน้ำเงิน (Blue) มีความยาวคลื่นประมาณ 450-500 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
-สีเขียว (Green) มีความยาวคลื่นประมาณ 500-570 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
-สีเหลือง (Yellow) มีความยาวคลื่นประมาณ 570-590 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
-สีส้ม (Orange) มีความยาวคลื่นประมาณ 590-610 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
-สีแดง (Red) มีความยาวคลื่นประมาณ 610-700 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร
หลักการผสมสี
หลักการผสมสี คือ การนำเอาแม่สี (Primary Color) 3 มาสีผสมเข้าด้วยกันจะก่อให้เกิดสีสันต่างๆ มากมาย หลักการผสมสี จะมี 2 ลักษณะ คือ แบบแอ็ดดิทีฟ (Additive) และแบบซับแทรกทีฟ (Subtractive)
1. การผสมแบบ แอ็ดดิทีฟ (Additive)
การผสมในลักษณะนี้จะนำเอาแม่สี 3 แม่สี คือ แดง , เขียว และน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันเข้าจะได้สีที่เจือจางกว่าเดิม การผสมแบบแอ็ดดิทีฟ จะนำมาใช้ในกิจการโทรทัศน์
2. การผสมแบบซับแทรกทีฟ (Subtractive)
การผสมแบบซับแทรกทีฟ จะมีมีสี 3 แม่สี มาผสมกันได้แก่
-1.แดง
-2.น้ำเงิน
-3.เหลือง
การผสมแบบนี้จะให้สีเข้มข้นกว่าเดิม จะเป็นการผสมใช้ในงานวาดเขียนหรือการพิมพ์
แดง+เหลือง = แดง , เหลือง
แดง+น้ำเงิน = สีม่วง
เหลือง+น้ำเงิน = เขียว
แดง+เหลือง+น้ำเงิน = ดำ
สัดส่วนการผสมแสงสี
ในวิธีการของโทรทัศน์ สัญญาณส่งสว่าง เรียกว่า สัญญาณลูมิแนนซ์ (Luminance)
หรือสัญญาณ Y จะเป็นสัดส่วนที่ชี้บอกความส่องสว่างของสีนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการผสมสีจากแม่สี ผลจากการทดลองเมื่อนำหลอดไฟ สีแดง , น้ำเงิน , สีเขียว ให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมจะห็นเป็นสีขาวได้จากสมการ
Y = 0.3 R + 0.59 G + 0.11
การสร้างสัญญาณสีจากภาพสี
ภาพที่ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไป ที่เราสามารถมองเห็นเป็นภาพสี จะประกอบด้วยสีสันต่างๆ
มากมาย ส่วนที่จะเปลี่ยนสัญญาณภาพสีเป็นสัญญาณสีได้แก่ กล้องถ่ายโทรทัศน์สีและหลอดภาพสี จะสร้างสัญญาณสีไม่ครบ แต่จะสร้างขึ้นมาเพียง 3 เท่านั้นคือ แดง เขียว น้ำเงิน
เครื่องส่งโทรทัศน์สีระบบ PAL
เครื่องส่งโทรทัศน์สีระบบ (PAL)
จากการที่ได้ศึกษาเรื่องกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์สี จะพบว่าได้มีสัญญาณทางไฟฟ้าจากกล้องถ่ายแต่ละกล้อง คือสัญญาณเอาต์จากกล้องสีแดง กล้องสีเขียว และกล้องสีน้ำเงิน ขั้นตองต่อไปจะนำสัญญาณทั้ง 3 มาเข้าวงจร เมตริกซ์ จะก่อให้เกิดสัญญาณ
1. สัญญาณขาว-ดำ ลูมิแนนซ์ (Luminance) หรือ สัญญาณ Y
2. สัญญาณสี โครมิแนนซ์ (Chrominance) ประกอบด้วย
- สัญญาณ R-Y
- สัญญาณ B-Y
หลักการเครื่องรับโทรทัศน์สีเบื้องต้น
หลักการเครื่องรับโทรทัศน์สีเบื้องต้น โดยพิจารณาเครื่องรับโทรทัศน์สีจะคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ จะแตกต่างเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์สีจะเพิ่มวงจรภาคสีหรือ
โครมิแนนซ์
สัญญาณจากสถานีส่ง จะประกอบไปด้วยสัญญาณหลัก 2 สัญญาณ
1. สัญญาณด้านเสียง
2. สัญญาณด้านภาพ
- สัญญาณด้านขาว-ดำ
- สัญญาณด้านสี
- สัญญาณซิงค์โครไนเซชัน
สัญญาณเข้ามาที่สายอากาศ จะเข้าสู่วงจรของเครื่องรับคือ จูนเนอร์ จูนเนอร์จะเลือกรับ
สถานีที่ต้องการ และดำเนินวิธีการของจูนเนอร์จะได้สัญญาณเอาต์พุต จูนเนอร์ คือ VIF และ SIF
วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551
วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ความรู้เบื้องต้นของระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย
ประวัติโทรทัศน์ในประเทศไทย
ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้
ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานีทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง
ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศในระบบสี- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง5 โดยออกอากาศในระบบสีทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน
ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน
ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน
ความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2475 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เตรียมการทดลองส่งโทรทัศน์ แต่ยังไม่ทันดำเนินการก็เกิดการปฏิวัติขึ้น และหลังจากนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง จึงได้มีความพยายามในการก่อตั้งโทรทัศน์ขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง โดยมีเหตุการณ์สำคัญที่สามารถแบ่งได้ตามทศวรรษต่างๆ ดังนี้
ทศวรรษ 2490 ยุคบุกเบิกโทรทัศน์ไทย (พ.ศ. 2491-2499)
• 2492สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน
• 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น
• 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์
• กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้
• มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์
• 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานีทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509)
• 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์
• มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น
• การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง
ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519)
• 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก
• 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ
• 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี
• 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่- สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศในระบบสี- และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง5 โดยออกอากาศในระบบสีทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน
ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521)
• เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี
• 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน
ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก
• 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ
• 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11
• ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด
• 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ)
• พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี
• 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
ทศวรรษ 2540 การแข่งขันอย่างเข้มข้นทางธุรกิจ (พ.ศ.2540-2549)
• 10 พฤศจิกายน 2540 ททบ 5 จัดตั้งโครงการ Thai TV Global Network แพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ไทยผ่านดาวเทียมไปต่างประเทศทั่วโลก
• 6 กุมภาพันธ์ 2541 ยูทีวี และ ไอบีซี รวมบริษัทกันเป็น ยูบีซี (United Broadcasting Corporation) ทั้งนี้เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศขณะนั้นเป็นยุคฟองสบู่แตก
• มิถุนายน 2548 อสมท ได้ทำการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และกลายมาเป็น บริษัท อสมท จำกัด มหาชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)